วันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2553

แม่หอบ คืออะไร



แม่หอบ (อังกฤษ: mud lobster, mangrove lobster) เป็นสัตว์น้ำประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Thalassina anomala จัดอยู่ในไฟลัมย่อยครัสตาเซียน
จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้น ที่อยู่ในสกุล Thalassina และวงศ์ Thalassinidae

มีรูปร่างคล้ายกุ้งผสมกับปูโดย ขาคู่แรกขนาดใหญ่คล้ายก้ามปู นอกจากใช้เดินแล้วยังทำหน้าที่ขุดรูและขนดินออกมากองคล้ายจอมปลวก แต่มีขนาดเล็กกว่า หัวเหมือนกุ้งมีขนาดใหญ่ ลำตัวสีแดงเข้มเป็นปล้อง ๆ คล้ายกั้ง ท้องขนาดเล็กยาวเรียวไม่มีแพนหาง ลักษณะคล้ายแมงป่อง มีขนาดความยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร

อาศัย โดยการขุดรูอยู่ตามพื้นป่าชายเลน โดยขนดินขึ้นมากองทับถมกันเป็นเนินสูง และอาศัยอยู่ด้านใต้กองดินนั้น สามารถอยู่บนบกได้เป็นเวลานานกว่าครัสตาเซียนจำพวกอื่น ๆ ในประเทศไทยพบเฉพาะป่าชายเลนทางภาคใต้ โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน ในต่างประเทศพบได้ที่อินเดียจรดถึงเวียดนาม จนถึงชายฝั่งทะเลของปาปัวนิวกินีและออสเตรเลียทางตอนเหนือและตะวันตก
การที่ได้ชื่อในภาษาไทยว่า "แม่หอบ" เนื่องจากมีความเชื่อว่า เนื้อของแม่หอบสามารถรักษาอาการหอบหืดได้ จึงนิยมนำมาเผาไฟรับประทานกันในอดีต
สถานะ ปัจจุบันของแม่หอบ ถือได้ว่าหมิ่นเหม่ต่อการสูญพันธุ์ อันเนื่องจากสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ประกอบกับเป็นสัตว์ที่ค่อนข้างบอบบางตายง่าย เช่น ในช่วงฤดูมรสุมน้ำทะเลอาจท่วมรูของแม่หอบ จนทำให้แม่หอบตายได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น